ท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม แผนที่ เชียงใหม่ พัทยา หัวหิน เกาะช้าง เกาะสมุย เกาะเสม็ด เที่ยวหน้าหนาว เชียงใหม่ ปาย แผนที่ประเทศไทย เขาใหญ่ เชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เกาะช้าง แม่ฮ่องสอน thailand กาญจนบุรี หัวหิน ททท thailand thai

thailand travel

Monday, March 31, 2008

สระบุรี Saraburi



Saraburi (Thai: สระบุรี) is one of the central provinces (changwat) of Thailand. Neighboring provinces are (from north clockwise) Lopburi, Nakhon Ratchasima, Nakhon Nayok, Pathum Thani and Ayutthaya. Saraburi has been an important town since ancient times. It is believed to have been constructed in the year 1548 during the reign of King Maha Chakkraphat of Ayutthaya as a centre for recruiting troops.
สระบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และพรั่งพร้อมด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย
จังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดทั้งภาคอีสานและภาคกลาง ได้แก่ ตอนเหนือ ติดกับจังหวัดลพบุรี ทางตะวันออกติดกับนครราชสีมา ทางใต้ติดกับนครนายก ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนทางตะวันตกติดกับพระนครศรีอยุธยาและลพบุรี
ภูมิศาสตร์
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
ภูมิอากาศ
สภาพโดยทั่วไปมีภูมิกาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1147.6 มิลลิเมตร มีฤดูต่าง ๆ 3 ฤดูคือ 1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง 2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน 3. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวแย็นสลับกับอากาศร้อน
อุทยาน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชลบุรี Chonburi




Chonburi (Thai: ชลบุรี) is a province (changwat) of Thailand. Neighboring provinces are (from north clockwise) Chachoengsao, Chanthaburi and Rayong. To the west is the Gulf of Thailand. It is heavily industrialized and underpinned by shipping, transportation, tourism, and manufacturing industries, and second to only Bangkok in economic output.

ชลบุรี เป็นชื่อจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของประเทศตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว ในขณะเดียวกันนั้นยังถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในด้านการพานิชย์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศแห่งหนึ่งด้วย ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี
ประวัติศาสตร์
จังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้วเพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ตรงแถวที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วยจึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแสนยาวนานของจังหวัดชลบุรี
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปาย Pai



Pai (Thai: ปาย) is the northeasternmost district (Amphoe) of Mae Hong Son Province, northern Thailand.
อำเภอปาย เป็นอำเภอขนาดเล็กทางตอนเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติประเทศแบกแพค ที่มุ่งหน้ามาหาความงามตามธรรมชาติ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอปายตั้งอยู่ทางตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองปั่น จังหวัดตองกี รัฐฉาน (ประเทศพม่า)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แจ่ม (จังหวัดเชียงใหม่)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง (จังหวัดเชียงใหม่)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า

ประวัติศาสตร์


พระธาตุแม่เย็น
อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานว่า เจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปายและในสมัย พระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่ง เจ้าแก้วเมือง ออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ ว่า เวียงใต้ ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า เวียงเหนือ
พ.ศ. 2454 เมืองปายได้ยกฐานะเป็นอำเภอ โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ รองอำมาตย์เอกหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์)
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เมืองปาย เป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไป พร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2318 – 2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้าน และพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่คนไทยวน (คนเมือง) คนไทใหญ่ ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน
เมืองปาย สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อำเภอปาย มีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนาน คัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวงอำเภอเมือง เชียงใหม่มีรายงานการสำรวจว่า ในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้
ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย ) อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตก ราว 1,500 เมตร พบซากกระดูก และระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์ หลงเหลืออยู่บางส่วน ถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้ ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอยู่หลายแห่งเช่น
ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ, หม้อดินลายเชือกทาบ,ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย) ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้าน ประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เชียงราย Chiang Rai




Chiang Rai (Thai: เชียงราย) is the most northern province (changwat) of Thailand. Neighbouring provinces are (from east clockwise) Phayao, Lampang and Chiang Mai. In the north it borders Shan State of Myanmar and Bokeo and Oudomxai of Laos.
จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย มีพรมแดนติดประเทศพม่าและลาวทางด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน จีนตอนใต้-อินโดจีน

สภาพภูมิศาสตร์
จังหวัดเชียงรายมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับชายแดนประเทศพม่า และลาว
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศลาว และบางส่วนของจังหวัดพะเยา
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดพะเยา ลำปาง และเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเชียงใหม่
สภาพทางภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่มีลักษณะทางภูมิประเทศ เป็นป่าไม้และเทือกเขาที่สูงจึงทำให้ได้รับอิทธพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมาก จึงทำให้มีความแตกต่างของฤดูร้อนกับฤดูหนาวค่อนข้างมาก คือประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี อุณหภูมิจะต่ำมากเฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียส และในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยในปีพุทธศักราช 2541 เป็นปีที่มีอุหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส

การคมนาคม
ทางบก
ภายในประเทศ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118
เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ถนนไทย-พม่า-จีนและถนนไทย-ลาว-จีน
ทางน้ำ ตามแม่น้ำโขง เส้นทางสายเชียงรุ่ง-เชียงแสน เชื่อมลาว-ไทย-พม่า-จีน
ทางอากาศ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย
สถานที่สำคัญ
สถานที่ท่องเที่ยว
พระตำหนักดอยตุงราชนิเวศน์
วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)
พระธาตุ ๙ จอม
สามเหลี่ยมทองคำ
ย่านการค้าชายแดนอำเภอแม่สาย
น้ำตกขุนกรณ์
วัดร่องขุ่น ฝีมือ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ภูชี้ฟ้า
ดอยแม่สลอง
เสาสะดือเมืองเชียงราย
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชียงราย
อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติขุนแจ
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติแม่ปืม
นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว - ผู้บุกเบิกและสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ถวัลย์ ดัชนี - จิตรกรและศิลปินแห่งชาติ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ - ภูมิสถาปนิกและศิลปินแห่งชาติ
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ - จิตรกรผู้ออกแบบและก่อสร้างวัดร่องขุ่น
จูหลิง ปงกันมูล - คุณครูผู้เสียสละ
ปริม อินทวงศ์ - อดีตนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
ยงยุทธ ติยะไพรัช - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ประธานรัฐสภาคนปัจจุบัน
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
สายสวรรค์ ขยันยิ่ง - ผู้ประกาศข่าวช่องสาม
เกร็ดข้อมูล
สับปะรดนางแล เป็นสับปะรดที่มีชื่อเสียงจากเชียงราย มีขนาดใหญ่ สีเหลืองสด และมีรสชาติหวานฉ่ำ
สับปะรดภูแล เป็นสับปะรดลูกผสมระหว่างสับปะรดนางแลกับสับปะรดภูเก็ต มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือเหมือนพันธุ์ภูเก็ตและมีสีเหลืองสด รสชาติหวานฉ่ำเหมือนพันธุ์นางแล นิยมปลูกมากบริเวณตำบลนางแล
อำเภอแม่สาย มีทิวเขาชื่อทิวเขานางนอน ซึ่งถ้ามองจากที่ไกลจะเห็นเหมือนผู้หญิงนอนหงายอยู่ โดยจะมองเห็นชัดว่ามีหน้าผาก จมูก ปาก คาง คอ และมีผมยาว โดยสามารถมองเห็นได้จากด้านซ้ายมือบนถนนเชียงราย-แม่สาย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิษณุโลก Phitsanulok



Phitsanulok (Thai: พิษณุโลก) is one of the provinces (changwat) of Thailand, located in the North of Thailand. Neighboring provinces are (from east clockwise) Loei, Phetchabun, Phichit, Kamphaeng Phet, Sukhothai, Uttaradit. In the north-east it also has a short border with Xaignabouli of Laos.
พิษณุโลก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที
เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับ แม่น้ำเหตุ แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร
ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: รูปพระพุทธชินราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: พรรณไม้ปีบ (Millingtonia hortensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานคร 320 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง วัดโบสถ์ เนินมะปราง นครไทย และชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
การคมนาคม
จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงหมายเลข 12 ( ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-หล่มสัก-ขอนแก่น ) ทางหลวงหมายเลข 11 (ตาคลี-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) และทางหลวงหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายถนนทางหลวงวงแหวนเลี่ยงเมืองหมายเลข 12
นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้ว การเดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกยังสามารถมาด้วยรถไฟ หรือเครื่องบินก็ได้ โดยการบินไทย มีเที่ยวบินมายังท่าอากาศยานพิษณุโลกทุกวัน
อุทยาน
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
วนอุทยานเขาพนมทอง
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร
เขาสมอแครง
น้ำตกชาติการ
ทุ่งแสลงหลวง
ภูหินร่องกล้า
น้ำตกสกุโนทยาน
ภูสอยดาว
ล่องแก่ง ลำน้ำเข็ก
พระราชวังจันทร์ เป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ของดีจังหวัดพิษณุโลก
แหนมและหมูยอสุพัตรา
กล้วยตากบางกระทุ่ม
ไม้กวาดบ้านนาจาน
น้ำปลาบางระกำ
สุนัขพันธุ์บางแก้ว
ไก่ชนพันธุ์ไทยเหลืองหางขาว
พระเครื่อง
สมุนไพรทอด
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พัทยา Pattaya



Pattaya (Thai: พัทยา, RTGS: Phatthaya) is a city in Thailand, located on the east coast of the Gulf of Thailand (12°55′39″N, 100°52′31″ECoordinates: 12°55′39″N, 100°52′31″E), about 165 km southeast of Bangkok located within but not part of Amphoe Bang Lamung in the province of Chon Buri.
Meaning the 'south-west monsoon wind" and correctly pronounced "Putt-tuh-YAH" not "Patt-EYE-uh", it ranks as one of the most successful beach resorts in the world, with some 5.4 million visitors arriving in 2005. Increasing numbers of tourists come from the former Soviet Union and East Asia.
The city of Pattaya is a self governing special municipal area which covers the whole tambon Nong Prue and Na Kluea and parts of Huai Yai and Nong Pla Lai. It is located in the heavily industrial Eastern Seaboard zone, along with Si Racha, Laem Chabang, and Chon Buri. However, it remains mostly a tourist city, with very light industry.
Pattaya is second only to Bangkok in high rise buildings, as many condos for foreign residents are built, and has a modest skyline. The city's economy benefits from its relative proximity to Bangkok.
Pattaya is also the center of the Pattaya-Chonburi Metropolitan Area, the conurbation in Chonburi Province.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Pattaya

พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่ง (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่ามีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน
พัทยามีรหัสมาตรฐานตาม ISO 3166-2 ว่า TH-S
ประวัติเมืองพัทยา
เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พรางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา
ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบาร มีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็น้ำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่
นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา
อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ
ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว
พัทยาเหนือ
บริเวณพัทยาเหนือนั้นในอดีตเคยเป็นแหล่งชุมชนและอุตสาหกรรมมาก่อน อาชีพหลักของผู้คนแถบนี้คือ การทำนาเกลือและการประมง จึงทำให้มีบรรยากาศของความเก่าแก่หลงเหลืออยู่ บ้านเรือนโบราณ ถนนสายแคบๆ การเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตลอดเส้นทางสายนาเกลือ-พัทยา จนถึงบริเวณวงเวียนปลาโลมาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนเลียบชายหาดซึ่งยาวไปจนถึงพัทยาใต้ ในส่วนของพัทยาเหนือนี้แตกต่างจากบริเวณนาเกลือโดยสิ้นเชิง โรงแรมบ้านพักสถานบรรเทิง ร้านอาหาร ถูกสร้างขึ้นมากมายริมถนนเลียบชายหาดสายนี้ อีกทั้งสามารถเดินเล่นไปตามทางเท้าริมถนนเลียบชายหาดได้อีกด้วย ถนนพัทยาสายสองในส่วนของพัทยาเหนือนั้นมีสถานน่าสนใจมากมาย เช่น ทิฟฟานี่โชว์ อัลคาร์ซ่าคาบาเร่ต์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล
พัทยากลาง
พัทยากลางนั้นโรงแรมส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่มากแต่จะได้พบกับบาร์เบียร์ ร้านขายเสื้อผ้า และบาร์อะโกโก้มากมาย บริเวณถนนเรียบชายหาดมีสำนักงานตำรวจพัทยาและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รอยัลการ์เด้น พลาซ่า ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าหลักก็ตั้งอยู่พัทยากลางนี้เช่นกัน
พัทยาใต้
พัทยาใต้โค้งมากจากถนนเลียบชายหาด แถบนี้ถูกเรียกว่า วอล์คกิ้ง สตรีท เขตเดินเท้าบริเวณนี้มีร้านค้าเล็กๆ มากมาย ซึ่งบริการ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องกีฬา ร้านขายเครื่องประดับ และร้านขายของที่ระลึก ที่นี่ยังมีบาร์มากกมาย และยังมีร้านอาหารทะเล ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างยื่นลงไปในทะเลเพื่อเพิ่มบรรยากาศในการรับประทานอาหาร พัทยาใต้นั้นดูวุ่นวายกว่าส่วนอื่นๆ ของเมืองพัทยา ถนนอัฐจินดา สัญลักษณ์ของเขตแดนเมืองพัทยาใต้ เมื่อเดินไปตามซอยเล็ก ๆ ซึ่งจะนำทางสู่ถนนพระตำหนักซึ่งเป็นด้านหลังของพัทยาและนำไปสู่ ถนนพัทยาสายสอง
หาดจอมเทียน
หาดจอมเทียน ความยาว 6 กิโลเมตรของหาดจอมเทียนถูกแบ่ง จากส่วนอื่นๆในเมืองพัทยาด้วยเนินเขาด้านหลังของพัทยาใต้ เมื่อขับรถผ่านเนินเขา และผ่านพระพุทธรูปใหญ่ก็จะลงมาสู่หาดที่ค่อนข้างเงียบ ชายหาดนี้เป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของกีฬาทางน้ำ เนื่องจากพื้นที่แถวนี้มีอากาศที่บริสุทธิ์ ซึ่งถูกพัดมาจากอ่าวไทย และทะเลที่หาดนี้ยังมีความ คับคั่งของเรือน้อยกว่าที่อ่าวพัทยานอกจากนี้หาดจอมเทียนยังเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยการอาบแดด นอกจากนี้หาดจอมเทียนยังมีทางเล็กๆ ซึ่งมีแหล่งช็อปปิ้ง บาร์เบียร์ และยังมีโรงแรมที่มีหาดส่วนตัว บังกะโลคอมเพล็กซ์ คอนโดมิเนียม และร้านอาหาร
เกาะล้าน
เกาะล้าน อยู่ห่างชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เรือลากร่มชูชีพ เรือสกี สกู๊ดเตอร์ โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้าน และเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เช่น เกาะครก และเกาะสากเป็นแหล่งตกปลาดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น และเป็นสถานที่ฝึกหัดเรียนดำน้ำ
เกาะสาก
เกาะสากเป็นเกาะขนาดเล็ก ห่างจากเกาะล้านไปทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร รูปร่างโค้งเป็นรูปเกือกม้าหงาย มีหาดทราย 2 หาดทางทิศเหนือและใต้ของเกาะ และมีแนวปะการัง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว[1]
หมู่เกาะไผ่
เกาะไผ่จะอยู่ห่างจากชายฝั่งของเมืองพัทยา ประมาณ 23 กิโลเมตร และมีระยะทางที่ห่างจากเกาะล้านประมาณ 9.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีกีฬาทางน้ำ เช่น การดำน้ำดูปะการัง เป็นที่พักผ่อน หมู่เกาะไผ่ในปัจจุบันทางกองทัพเรือเป็นผู้ดูแลและพัฒนา
การเดินทาง
โดยรถยนต์ จาก อำเภอเมืองชลบุรี ตรงมาตาม ถ.สุขุมวิท ผ่าน อำเภอศรีราชาและ อำเภอบางละมุง ถนนเข้าสู่เมืองพัทยามีสามเส้นหลักๆ คือ ถ.พัทยาเหนือ อยู่ตรงหลัก กม.144 ถ.พัทยากลาง อยู่ประมาณหลัก กม.145-146 และ ถ.พัทยาใต้ หลัก กม.147 ทั้งสามเส้นจะไปพบกับถนเลียบชายหาดพัทยา
โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางออกจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ สถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัยและหมอชิตไปพัทยา
โดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ มีบริการเพียงวันละหนึ่งเที่ยว ออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลา 06.55 น. ถึงสถานีพัทยาเวลา 10.45 น. เวลาเดินทาง 3 ชม. 40 นาที
โดยเครื่องบิน มีสนามบินอู่ตะเภาที่สัตหีบ และเที่ยวบินที่มีปัจจุบันเปิดบริการโดย สายการบิน Bangkok Airways ถึง และ จาก เกาะสมุย
งานและเทศกาล
เทศกาลดนตรีพัทยา หรือ พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya Music Festival) เป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาญจนบุรี เมืองกาญ



Kanchanaburi (Thai: กาญจนบุรี) is the largest of the central provinces (changwat) of Thailand. Neighboring provinces are (from north clockwise) Tak, Uthai Thani, Suphan Buri, Nakhon Pathom and Ratchaburi. In the west it borders Kayin State, Mon State and Tanintharyi Division of Myanmar.
จังหวัดกาญจนบุรี ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 943 หมู่บ้าน 206 ชุมชน 31 เทศบาล 90 อบต.
สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยาน
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
อุทยานแห่งชาติไทรโยค
อุทยานแห่งชาติลำคลองงู
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อื่นๆ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
ทางรถไฟสายมรณะ
เขื่อนศรีนครินทร์
เขื่อนวชิราลงกรณ
ไอ้บุญทองบ้านหนองขาว
พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า
พิพิธภัณฑ์สงครามโลก (Jeath Museum)
ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ (Hellfire Pass Memorial Museum) อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
สวนหินสมเด็จพระศรีนครินทร์
วัดสุนันทวนาราม

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี